1.การทำน้ำหมักจากปุ๋ยหมัก เพื่อส่งเสริมทั้งด้านสารอาหารและจุลินทรีย์ สามารถทำได้เดือนละ 1-2 ครั้ง ทั้งในช่วงทำใบและทำดอก โดยใช้ปุ๋ยหมักเป็นตัวตั้งต้น และใช้น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ําตาลเป็นอาหารสําหรับจุลินทรีย์ที่อยู่ในปุ๋ยหมัก ประกอบกับปั๊มออกซิเจนเพื่อให้มีอากาศมากเพียงพออย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนการทําน้ำหมักจากปุ๋ยหมัก (สูตร 200 ลิตร)
เตรียมน้ำสะอาด 100 ลิตร เติมปุ๋ยหมัก 2.5 กก. แล้วตามด้วยน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 2 ถ้วยตวง เป่าออกซิเจนทิ้งไว้เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่ต้องปิดฝาถัง เติมน้ำอีก 100 ลิตรก่อนใช้งาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่า pH และ ppm อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สามารถใช้รดได้ทันที โดยควรใช้ทั้งหมดในครั้งเดียว เนื่องจากหากล่วงเลยเวลา อาจทำให้จุลินทรีย์บางส่วนตายและส่งผลให้น้ำหมักเป็นพิษได้
2.น้ำหมักเอนไซม์จากการเพาะเมล็ด หรือ SST (seed sprouted tea) เป็นการใช้เอนไซม์ธรรมชาติที่มีอยู่ทั้งจากในเมล็ดและรากของพืชหลากหลายชนิด เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด รวมถึงพืชตระกูลถั่ว ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความต้านทานต่อโรคให้กับพืช
อัลฟัลฟา เป็นทางเลือกของเราสําหรับการทำ SST ซึ่งนอกเหนือจากศักยภาพการตรึงไนโตรเจนแล้ว อัลฟัลฟายังอุดมไปด้วยเอนไซม์ วิตามิน โปรตีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Triacontanol ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่มีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ โดยการเพิ่มระดับคลอโรฟิลล์สําหรับการสังเคราะห์แสงที่ดีขึ้นและเพิ่มมวลรากมากขึ้น
วิธีทำ SST จากเมล็ด Alfalfa (สูตร 20 ลิตร)
1.นำเมล็ดจำนวน 1 ออนซ์ หรือ 28 กรัม ไปแช่น้ำสะอาดประมาณ 8 ชั่วโมง 2.นำขึ้นจากน้ำ ล้างด้วยน้ำสะอาด ห่อเมล็ดด้วยผ้า เพื่อรักษาความชุ่มชื้น 3.พรมน้ำเช้า-เย็น ระวังไม่ให้เปียกแฉะหรือมีน้ำขัง 4.เมื่อผ่านไป 24-72 ชั่วโมง จะสังเกตุเห็นรากงอก 5.เมื่อรากมีความยาวพอๆกับตัวเมล็ด ถือว่าเป็นอันใช้ได้ 6.นำเมล็ดเหล่านี้ใส่เครื่องปั่นได้เลย 7.ปั่น 8.ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร ก่อนนำมาใช้ และควรใช้ทันที ให้หมดในครั้งเดียว